วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง                        การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร
ผู้วิจัย                      เสรี  บิสนุม
ปีที่ทำวิจัย               2555
บทคัดย่อ

                      การวิจัยในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ          หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด  งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนใช้และหลังใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร  3) เพื่อศึกษาความสามารถในการประดิษฐ์ว่าว  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร    4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร 
                    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16   ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2555 จำนวนนักเรียน  25  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด  งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร    จำนวน  5  เล่ม  คือ  1.1) สืบสานภูมิปัญญาพัฒนางานประดิษฐ์ว่าว 1.2) กอไผ่เป็นลำนำมาแปลงร่างสร้างวัสดุประดิษฐ์ว่าว 1.3)  ว่าวนกมีค่าภูมิปัญญาชาวสาคร 1.4) ว่าวบุหลันงามตาผ้าปาเตะน่าชมสมคำเล่าลือชื่อว่าววงเดือน 1.5) เศษไผ่ไร้ค่าพัฒนาสร้างรายได้  2)  แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้  เรื่อง งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร  ซึ่งเป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด  4  ตัวเลือก  จำนวน 30  ข้อ   3) แบบประเมินการประดิษฐ์ว่าวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร  มี  3  ระดับ  ประเมินด้านต่างๆ  ต่อไปนี้  3.1)  การเลือกใช้วัสดุเหมาะสม  3.2)  ขนาดและรูปทรง  3.3)  ความเรียบร้อยของผลงาน  3.4)  ความประณีต สวยงาม  3.5)  ความสมบูรณ์ของผลงาน  4)  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  จำนวน 15 ข้อ    การวิเคราะห์มูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่   ค่าเฉลี่ย   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ค่าร้อยละ  การทดสอบแบบที  (t-test)   สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ   การคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)   ค่าความยากง่าย    ค่าอำนาจจำแนก      ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR-20   และหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยหาค่า E1 และ  E2 

ผลการวิจัยพบว่า
                   1.  ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคารได้ค่าประสิทธิภาพ  เท่ากับ  80.20/81.00  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดได้  คือ  80/80 
                   2.  ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้  เรื่อง งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร ระหว่างก่อนเรียน  (Pre-test)   และหลังเรียน      (Post-test) โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
                  3.  ความสามารถในการประดิษฐ์ว่าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร หลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร         มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  คือ มีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 จำนวน 25 คน  คิดเป็นร้อยละ  100.00 โดยมีค่าร้อยละของคะแนนอยู่ระหว่าง  73.33  ถึง  93.33

                   4.  ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสาครพิทยาคาร หลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด งานประดิษฐ์ว่าวบ้านสาคร  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย           เท่ากับ 2.65   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น